ข้อมูลทั่วไป



บ้านหัวฝาย หมู่ที่ 3 ต.โป่งน้ำร้อน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่

องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งน้ำร้อน

สภาพทั่วไป

1. ขนาดและที่ตั้ง
ตำบลโป่งน้ำร้อนตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดเชียงใหม่ ระยะทาง 160 กิโลเมตร ห่างจากตัว อำเภอฝางไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นตำบลที่จัดตั้งขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2534 โดยแยกมา จากตำบลม่อนปิ่น เดิมมี 6 หมู่บ้าน ปัจจุบันมีทั้งหมด 7 หมู่บ้าน ตั้งอยู่เหนือระดับน้ำทะเล 475 เมตร มีเนื้อที่ ประมาณ 69,062.50 ไร่ หรือ ประมาณ 110.50 ตารางกิโลเมตร

2. อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ประเทศสหภาพพม่า และตำบลแม่สาว อำเภอแม่อาย จังหวัด เชียงใหม่
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลม่อนปิ่น และตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

3. ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อน พื้นที่ราบมีจำนวนน้อย พื้นที่ส่วนใหญ่ที่ใช้ใน การเกษตรจะเป็นที่เชิงเขา มีลำน้ำมาว ลำน้ำใจ ไหลผ่านพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีลำห้วยเล็กๆ อยู่หลายแห่งซึ่งจะมีน้ำใช้ เฉพาะในฤดูฝน และส่วนใหญ่ในฤดูแล้งน้ำจะแห้ง

4. ลักษณะภูมิอากาศ
ตำบลโป่งน้ำร้อน มีลักษณะภูมิอากาศทั่วไปเป็นแบบร้อนชื่น ได้รับอิทธิพลมาจากมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาว (ฤดูหนาวจะมีอากาศหนาวเย็น) และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงฤดูฝน

แบ่งได้เป็น 3 ฤดู คือ (อุณหภูมิอยู่ระหว่างที่ 2 – 37 องคาเซลเซียส)
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม - เดือนพฤษภาคม อากาศจะค่อนข้างร้อน อุณหภูมิสูงสุดอยู่ที่ 35 - 37 องศาเซลเซียส
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน - เดือนตุลาคม โดยจะมีฝนตกชุก ปริมาณน้ำฝน โดยเฉลี่ยต่อปีประมาณ 1.4 – 7 มิลลิเมตร สภาพเศรษฐกิจ

1. เกษตรกรรม
ตำบลโป่งน้ำร้อนมีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งสิ้นประมาณ 13,800 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 20 ของพื้นที่ ทั้งหมด พืชเศรษฐกิจ ได้แก่ หอมหัวใหญ่ ส้มสายน้ำผึ้ง ลิ้นจี่ ข้าว พริก

2. อุตสาหกรรม
ตำบลโป่งน้ำร้อนมีการประกอบอุตสาหกรรมขนาดเล็กในครัวเรือน ได้แก่ การทำขนมปัง การแว๊กซ์ส้ม และการทำถั่วเหลืออัดแผ่น

3. การพาณิชย์
ร้านขายของเบ็ดเตล็ด 36 ร้าน
ปั๊มน้ำมันหลอด 4 แห่ง
ร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ 3 ร้าน
ร้านอาหารขนาดเล็ก 6 ร้าน
โรงสีข้าวขนาดเล็ก 1 แห่ง
ร้านตัดผม/ร้านเสริมสวย 2 ร้าน
ร้านตัดเย็บเสื้อผ้า 1 ร้าน
ร้านอลูมิเนียม 1 ร้าน

4. การท่องเที่ยว/พักผ่อนหย่อนใจ
บ่อน้ำพุร้อน ตั้งอยู่ในบริเวณอุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก หมู่ที่ 6 และหมู่ที่7
ดอยผ้าห่มปก ตั้งอยู่ในบริเวณอุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก หมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 7
ฝายน้ำล้น ตั้งอยู่หมู่ที่ 3
สวนสาธารณะตำบล ตั้งอยู่หมู่ที่ 3
พระธาตุม่อนปิ่น ตั้งอยู่หมู่ที่ 3


สภาพสังคม

1. การศึกษา
โรงเรียนมีทั้งหมด 5 แห่ง
- โรงเรียนบ้านป่าบง หมู่ที่ 2
- โรงเรียนบ้านหัวฝาย หมู่ที่ 3
- โรงเรียนสอนภาษาจีน หมู่ที่ 3 (โรงเรียนเอกชน)
- โรงเรียนบ้านต้นผึ้ง หมู่ที่ 5 (โรงเรียนขยายโอกาสถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3)
- โรงเรียนบ้านโป่งน้ำร้อน หมู่ที่ 6

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่อยู่ในการดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบล มีทั้งหมด 2 แห่ง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่าหัด หมู่ที่ 4
- ศูนย์เด็กก่อนเกณฑ์ในวัด วัดปิตยาราม หมู่ที่ 6

2. การศาสนา
ประชาชนในตำบลโป่งน้ำร้อนนับถือศาสนาพุทธร้อยละ 99 มีวัดทั้งหมด 5 แห่ง สำนักสงฆ์ 3 แห่ง ดังนี้
- วัดไชยมงคล หมู่ที่ 1
- วัดธัมมิกกาวาส หมู่ที่ 2
- วัดวาฬุการาม หมู่ที่ 3
- วัดมธุราวาส หมู่ที่ 5
- วัดปิตยราม หมู่ที่ 6
- สำนักสงฆ์วัดพระธาตุม่อนปิ่น หมู่ที่ 3
- สำนักสงฆ์ในอุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก หมู่ที่ 6
- สำนักสงฆ์วัดดอยน้อย หมู่ที่ 7
ประชาชนในตำบลโป่งน้ำร้อนนับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 0.87 มีมัสยิด 1 แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 3
ประชาชนในตำบลโป่งน้ำร้อนนับถือศาสนาคริสต์ร้อยละ 0.13

3. ศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี
- ประเพณีปี๋ใหม่เมือง เดือน 7 เหนือ (วันสงกรานต์)
- ประเพณีตานข้าวใหม่ เดือน 4 เหนือ
- ประเพณีเข้าพรรษาตานเทียน เดือน 10 เหนือ
- ประเพณีทำบุญสลากภัตร
- ประเพณีปอยเทียน ของคนไทยเชื้อสายไทยใหญ่
- ประเพณียี่เป็ง (วันลอกระทง) 12
- ประเพณีสรงน้ำพระธาตุม่อนปิ่น
- ประเพณีปอยหลวง

4. การสาธารณสุข
ตำบลโป่งน้ำร้อนมีสถานีอนามัยอยู่ 1 แห่ง สถานีอนามัยบ้านท่าหัดหมู่ที่ 4

5. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ตำบลโป่งน้ำร้อนมีป้อมยามตำรวจ (สถานีตำรวจชุมชน) 1 แห่ง ตั้งอยู่ที่บ้านดอน หมู่ที่ 2 13

การบริการในพื้นที่

1. การคมนาคม
การคมนาคมติดต่อระหว่างหมู่บ้านและตำบล ถนนร้อยละ 30 เป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก/ไม้ไผ่ ร้อยละ 50 เป็นถนนลาดยางแอสฟัล ร้อยละ 20 เป็นถนนลูกรัง มีถนนสายยาวที่เชื่อมระหว่างหมู่บ้านและตำบล จำนวน 2 สาย

2. การโทรคมนาคม
ตู้โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 9 ตู้ ( 5 แห่ง)
ตู้ไปรษณีย์ จำนวน 1 ตู้

3. การไฟฟ้า
ไฟฟ้ามีใช้ครบทุกครัวเรือน

4. แหล่งธรรมชาติ
ลำน้ำ ลำห้วย 5 สาย

5. แหล่งน้ำสร้างขึ้น
ฝาย 4 แห่ง
บ่อน้ำตื้น 1,796 บ่อ
บ่อบาดาร 4 บ่อ
ประปา 4 แห่ง

ข้อมูลอื่นๆ

1. ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
ดิน สภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินแดง และดินลูกรัง (ดินภูเขา)
น้ำ พื้นที่ส่วนใหญ่จะมีน้ำตามธรรมชาติ มีลำห้วยเล็กๆ อยู่หลายแห่ง
ป่าไม้ พื้นที่ของตำบลเกือบร้อยละ 70 อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก
แหล่งพลังงาน มีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานความร้อนใต้พิภพ

2. สถานที่ราชการที่อยู่ในเขตตำบลโป่งน้ำร้อน
ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลโป่งน้ำร้อน ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2
สำนักงานอุยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 7
โรงงานผลิตไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอฝาง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 6
โรงงานผลิตไฟฟ้าด้วยพลังความร้อนใต้พิภพของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต
ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 6
ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิต เชียงใหม่ 3 ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 6
สถานีอนามัยบ้านท่าหัด ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 4
สถานีตำรวจชุมชนตำบลโป่งน้ำร้อน ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2

3. มวลชนจัดตั้ง
ลูกเสือชาวบ้าน 4 รุ่น 215 คน
อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน 1 รุ่น 36 คน
อาสาสมัครสาธารณสุข 120 คน
อาสาสมัครตำรวจชุมชน 1 รุ่น 10 คน
อาสาพัฒนาชุมชน 14 คน
ตำรวจบ้าน 1 รุ่น 50 คน
อาสาสมัครเยาวชนป้องกันเอดส์ 1 รุ่น 30 คน
อาสาสมัครป้องกันยาเสพติด 1 รุ่น 165 คน 15
ศักยภาพในตำบล

1. ศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบล

(1) จำนวนบุคลากร มีทั้งหมด 18 คน
ตำแหน่งในสำนักปลัด 4 คน
ตำแหน่งในส่วนการคลัง 5 คน
ตำแหน่งในส่วนโยธา 4 คน
ตำแหน่งในส่วนการศึกษา 5 คน

(2) ระดับการศึกษาของบุคลากร
ประถมศึกษา 2 คน
มัธยมศึกษา/อาชีวศึกษา 8 คน
ปริญญาตรี 8 คน

(3) รายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล แยกเป็น
รายได้จากการจัดเก็บเองโดยประมาณปีละ 254,000 บาท
รายได้ที่ส่วนราชการต่างๆ จัดเก็บให้โดยประมาณปีละ 9,000,000 บาท
รายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาลโดยประมาณปีละ 7,854,000 บาท

2. ศักยภาพของชุมชนและพื้นที่

(1) การรวมกลุ่มของประชาชน
- กลุ่มอาชีพ 7 กลุ่ม
- กลุ่มออมทรัพย์ 7 กลุ่ม
- กองทุนหมู่บ้าน 7 กองทุน

(2) จุดเด่นของพื้นที่ (ที่เอื้อต่อการพัฒนาตำบล)
พื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลโป่งน้ำร้อนอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก ซึ่งมีลักษณะ เป็นป่าไม้ และภูเขาสลับซับซ้อนมียอดดอยผ้าห่มปกที่มีความสวยงาม มีบ่อน้ำพุร้อน และลำน้ำแม่ใจ เหมาะกับการ ที่จะพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในอนาคต